เปลี่ยนการแสดงผล thA-AA+

เว็บไซต์องค์การบริหารส่วนตำบลศรีวิชัย อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร

งานเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

     
      ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่าวนตำบล  พ.ศ.2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 5 พ.ศ.2546 กำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องกระทำในเขตองค์การบริหารส่วน ตำบล  เช่น  จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก  รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล  ป้องกันและระงับโรคติดต่อ ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม  ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ฯลฯ   นอกจากอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลแล้ว  ยังมีอำนาจตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542  ได้กำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบล  เทศบาล  และองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีอำนาจหน้าที่ในการสงเคราะห์และส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ  

        รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้ บัญญัติเกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่นไว้เป็นการเฉพาะตั้งแต่มาตรา 281 ถึงมาตรา 290 เพื่อกระจายอำนาจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ว่า รัฐต้องให้ความเป็นอิสระแก่ท้องถิ่นตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ ของประชาชนในท้องถิ่น และส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำบริการ สาธารณะและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาในพื้นที่รวมทั้งมีอำนาจ หน้าที่โดยทั่วไปในการดูแลประชาชนในท้องถิ่น และได้บัญญัติเกี่ยวกับเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุไว้ ดังนี้ คือ มาตรา 53 บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ มีสิทธิได้รับสวัสดิการ สิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะอย่างสมศักดิ์ศรี และความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ   โดยสรุป คือ รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม รวมทั้งต้องสงเคราะห์และจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ขึ้นและพึ่งพาตนเองได้

        องค์การบริหารส่วนตำบล  ในฐานะมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประชาชนในท้องถิ่น ของตนเองตามพระราชบัญญัติข้างต้น จึงได้กำหนดให้จัดทำแผนปฏิบัติการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้อง ถิ่น พ.ศ. 2543 โดยให้มีการถ่ายโอนภารกิจ ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งแผนดังกล่าวกำหนดให้มีการถ่ายโอนภารกิจด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต และเรื่องการส่งเสริมอาชีพให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนชรา การนันทนาการ การส่งเสริมกีฬา หรือการจัดให้มีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ การศึกษาทั้งในและนอกระบบ รวมถึงการสาธารณสุข เช่น การรักษาพยาบาล การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ เป็นต้น ซึ่งจะเห็นว่าในปัจจุบันการจัดบริการสาธารณะในด้านสวัสดิการสังคมและสังคม สงเคราะห์ ได้มีการดำเนินการถ่ายโอนอำนาจหน้าที่ งบประมาณ และบุคลากรบางส่วนจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาคไปให้ส่วนท้องถิ่นดำเนินการ

        ทั้งนี้การที่ผู้สูงอายุมีจำนวนและสัดส่วนที่เพิ่มมาก ขึ้นส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงหลายๆด้าน  เช่น  ด้านแรงงาน  รายได้  ที่อยู่อาศัย  สุขภาพอนามัย  สวัสดิการ  ฯลฯ    องค์การสหประชาชาติในฐานะเป็นองค์กรความร่วมมือระดับชาติได้เห็นความสำคัญ ของเรื่องนี้    จึงได้มีการกำหนดแผนปฏิบัติการระยะยาวระหว่างประเทศเกี่ยวกับผู้สูงอายุ  จนได้มีมติให้วันที่ 1  ตุลาคมของทุกปีเป็นวันผู้สูงอายุสากล(International Day for the Elderly)โดย มีเนื้อหาสาระที่สำคัญคือ การสูงอายุของประชากรจะก่อให้เกิดความจำเป็นอันรีบด่วนที่รัฐและเอกชนจะต้อง กำหนดนโยบายและแผนงานเพื่อสนองความต้องการตามความจำเป็นให้เพียงพอ  ควรมีการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมในผู้สูงอายุ  ผู้สูงอายุย่อมหวังที่จะมีสุขภาพดีที่สุดเท่าที่เป็นไป
ได้  และการเข้าสู่วัยชราของผู้สูงอายุอาจต้องการบริการจากชุมชนและครอบครัว   คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและพึ่งพาตนเองได้

คุณสมบัติผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ  
        1. มีสัญชาติไทย
        2. อายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2552
        3. ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ผู้รับเงินบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน ผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ที่ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน รายได้ประจำ หรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่รัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดให้ เป็นประจำ ยกเว้นผู้พิการและผู้ป่วยเอดส์ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจ่ายเงิน สงเคราะห์เพื่อการยังชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2548
 
เอกสารที่ต้องใช้       
       1. บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่ายพร้อมสำเนา
       2. ทะเบียนบ้านพร้อมสำเนา
       3. สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร พร้อมสำเนา (ในกรณีที่ผู้ขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุประสงค์ขอรับเงินเบี้ยยังชีพผ่านธนาคาร)
       4. กรณีที่ผู้มีคุณสมบัติมีความจำเป็นที่ไม่สามารถมายื่นคำขอฯได้ ผู้สูงอายุสามารถมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นคำขอแทนได้ ให้เตรียมเอกสารประกอบเพิ่มเติม  คือ
             4.1 หนังสือมอบอำนาจ
             4.2 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ

สถานที่ยื่นคำขอขึ้นทะเบียน
        1. ภูมิภาคยื่นคำขอขึ้นทะเบียนที่เทศบาล/อบต. ที่ตนเองมีชื่อตามทะเบียนบ้าน
        2. ในกรุงเทพมหานคร ยื่นที่สำนักงานเขต ที่ตนเองมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน

การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
         
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จ่ายเป็นรายเดือน ๆ ละ 1 ครั้ง ในอัตราเดือนละตามขั้นบรรไดอายุ ดังนี้
        1. จ่ายเป็นเงินสดหรือโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารในนามผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
        2. จ่ายเป็นเงินสดหรือโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารในนามบุคคลที่ได้รับมอบหมายจาก ผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นลายลักษณ์อักษร
         ผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตามระเบียบนี้ มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป และให้สิทธิของบุคคลดังกล่าวสิ้นสุดลงในกรณีดังต่อไปนี้
        1. ถึงแก่กรรม
        2. ขาดคุณสมบัติ
        3. แจ้งสละสิทธิการขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นลายลักษณ์อักษร ต่อผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนมีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้ สูงอายุอยู่
  
การยื่นคำขอรับเบี้ยยังชีพ  ครั้งต่อไป
        ภายในเดือน พฤศจิกายนของทุกปี  ให้ผู้ที่จะมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป ในปีงบประมาณถัดไป  ลงทะเบียนและยื่นคำขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุด้วยตนเองต่อองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นที่ตนมีภูมิลำเนา (ตามเอกสารข้อที่ 2)กรณีไม่สามารถมายื่นด้วยตนเองต้องมีหนังสือมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรให้ ผู้อื่นมายื่นแทนก็ได้
 
^